Tuesday, January 10, 2012

การใช้บัตร ATM อเมริกา กดเงินไทย

วันนี้นั่งว่างๆ นึกขึ้นได้ว่ามีเรื่องที่อยากจะเล่าและบันทึกไว้ เพื่อเป็นความรู้และความทรงจำไว้บ้าง และอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านบางคนได้บ้าง

การถือบัตร ATM ธนาคารของประเทศอเมริกา
เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องถอนเงินในประเทศไทย ในกรณีกลับไปเยี่ยมบ้าน หรืออยากจะลองถอนใช้เงินดูบ้าง เราถือบัตร ATM -USA Bank เราสามารถไปถอนเงินได้ตามตู้ ATM ทั่วไปที่อยู่ในประเทศไทย ถ้าอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครจะได้เกือบทุกตู้ ถึงแม้ว่าตู้ ATM จะอยู่ข้างถนนก็ตาม

แต่ถ้าอยู่ต่างจังหวัดบางตู้ก็สามารถรับบัตร ATM-USA บางตู้ก็ไม่รับ แนะนำว่าให้ไปทำการถอนเงินในสาขาที่ใหญ่ๆ หน่อยที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า หรือไปทำการถอนที่สาขา จะเป็นธนาคารใดๆก็ได้ ไม่จำกัดธนาคารเลย

ดาลองทดลองกดเงิน ATM ที่ธนาคารกสิกรไทยในห้างเซ็นทรัลเชียงราย ในครั้งแรกไม่สามารถทำการถอนได้ เจ้าหน้าที่ธนาคารก็แจ้งว่าบางตู้ก็รับ และบางตู้ก็ไม่รับ เจ้าหน้าที่ธนาคารแนะนำให้ดาเดินไปลองกดตู้ ATMอื่นดู ดาเลยตัดสินใจไปลองกดที่ธนาคารไทยพาณิชย์ในห้างเซ็นทรัลเช่นเดียวกัน

วิธีการกดเงิน ATM เหมือนกับการกดเงินที่ใช้บัตร ATM ไทยเรา ใส่รหัสบัตรก่อนและทำตามขั้นตอนที่เครื่องATM  ถาม กดว่าต้องการถอนเงิน จากบัญชีประเภทออมทรัพท์ และยอดเงินที่ต้องการจะถอน กรอกตามที่ต้องการ และเครื่อง ATM จะถามเรื่องค่าธรรมเนียมการถอน 150 บาท และเราก็กดยืนยัน ยอมรับ  จากนั้นเงินบาทก็จะออกมาตามที่เราต้องการถอนเงินบาทมาใช้ตามวัตถุประสงค์

เอาละคราวนี้ กลับมาดูที่บัญชีที่ประเทศอเมริกาจะคิดกันอย่างไรบ้าง

02/ 11/11 ดาทดลองกดเงินบาท ที่ยอดเงิน 6000 บาท  ทางอเมริกา คิดเรทเป็นเงินที่ถอน 200.29$ บวกค่าธรรมเนียมการถอน 5$ และค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศ 2$ รวมเป็นเงินที่เสียดอลล่าห์ เท่ากับ 207.29$  (เท่ากับ 6000 บาท)


17/ 11/11 ดาทดลองกดเงินบาทที่ธนาคารกรุงไทย (เชียงราย) ยอดเงิน 15000บาท แต่เครื่อง ATM ที่ธนาคารกรุงไทย แจ้งว่าฟรีค่าธรรมเนียม(อาจจะเป็นในช่วงน้ำท่วม และทางการบอกว่าฟรีค่าธรรมเนียมอยู่ และอาจจะไม่รวมค่าธรรมเนียมฟรีต่างประเทศ) ทางอเมริกาคิดเป็นเงินที่ถอน 511.30 $  บวกค่าธรรมเนียม 5$ แต่ธนาคารกรุงไทยไม่เสียค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศ รวมเป็นเงินที่เสียดอลล่าห์ เท่ากับ 516.30 $ (เท่ากับ 15000 บาท)

สรุปได้ว่า การใช้บัตร ATM-USA ถอนเงินที่ไทยนั้นต้องเสียแน่นอน คือ ค่าธรรมเนียมการถอน 150 บาท แต่จะเป็นยอดเงินดอลล่าห์เท่าใดนั้น ขึ้นอยู้กับค่าเรทอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันที่ถอนเงินที่ไทย แต่วงเงินที่ถอนได้ไม่แน่ใจว่าอยู่ในวงเงินเท่าใดที่ถอนได้ ดาเคยถามเจ้าหน้าที่ธนาคารไทยเหมือนกัน ตอบไม่ได้ ส่วนใหญ่จะแจ้งว่าไม่ทราบกัน เลยยังไม่ได้ข้อสรุปว่าวงเงินที่ถอนในไทยได้ครั้งละเท่าใด ต่อวัน และเสียค่าธรรมเนียมเท่ากันอยู่ที่ครั้งละ 150 บาท

8 comments:

  1. มิสเตอร์กด หนี่งหมื่น ก็เสีย 150 บาทค่ะพี่ดา ใช้บัตรเดบิทเมกา ส่วนบัตรเอทีเอ็มไทย โอ้ทเคยใช้ตอนมาปีแรก กดแต่ละครั้ง โดนหักไป 3 เหรียญต่อครั้ง แต่โอ้ทกดไม่เยอะค่ะ ครั้งนึงก็ ร้อย สองร้อยนี่ละมั้ง จำไม่ได้แล้ว

    ReplyDelete
  2. อ่อ จะบอกว่า ข้อมูลนี้มีประโยชน์ค่ะ แต่โอ้ทอ่าน แล้ว งง คงเพราะเข้าใจอะไรยากมั้ง

    ReplyDelete
  3. ขอบคุณค่ะคุณดาสำหรับข้อมูลดีๆ ยุสงสัยว่าถ้ายุใช้บัตรเดบิทของอเมริกาไปกดเงินที่ไทย สามารถใช้ได้เลยเหรอคะ ไม่ต้องไปแจ้งทางธนาคารที่ทำไว้ก่อนไปไทยว่าใช้ในต่างประเทศใช่ไม๊คะ ถามไว้เผื่อคราวหน้ากลับไทยแล้วเกิดเหตุฉุกเฉินเรื่องตังค์น่ะค่ะ จะได้กดได้ทันที

    ReplyDelete
  4. มาตอบยุนะคะ บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มที่ธนาคารอเมริกา คือตัวบัตรเดียวกัน การใช้บัตรไม่จำเป็นต้องแจ้งที่ธนาคารในอเมริกาเลย ดาก็ใช้บัตรเดบิตกดที่ไทยได้ตามปกติ แค่ต้องเลือกตู้กดหน่อยตามที่เขียนนะว่า เราจะเลือกกดในเขตจังหวัดใดในประเทศไทย

    เขียนเผื่อไว้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน เผื่อยุกลับไทยจะลองใช้บ้างงัย

    ReplyDelete
  5. โอ็ท เรื่องค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเดบิตไทย กดเงินต่างประเทศ พี่ดาเคยถามเจ้าหน้าที่ธนาคารในไทยบอว่าเสียค่าธรรมเนียม 300 บาทต่อครั้ง แต่ยังไม่เคยลองกดเงินจริงๆที่อเมริกาเลย

    เดี๋ยวมีโอกาศลองกดเงิน จะเอาประสบการณ์จริงมาเขียนนะ

    ReplyDelete
  6. โอ้ทใช้สามปีผ่านมาแล้ว ค่าธรรมเนียมขึ้นมั้ง พี่ดากดแล้วมาเล่าต่อนะค่ะ

    เพิ่มเติมนิดนะค่ะ เอทีเอ็มที่นี่กดที่ไทย ประสบการ์ของเพื่อนที่นี่ ทำให้แม่ แม่ก็ไม่อยากกดทีเดียวเยอะ แม่เลยกดบ่อยมาก กดที่ละน้อย จนเป์นเรื่องธนาคารที่นี่(เจ้าของเอทีเอ็มแหละ) ติดต่อผู้ถือคือเจ้าของบัญชี เพราะว่ามีการกดเงินต่างประเทศบ่อย เป็นระบบป้องกันบัตรโดนขโมย หาย หรือฉ้อฉลนั่นเอง ผลคือ ธนาคาร ระงับการกดเงินต่างประเทศ...จบข่าว

    ReplyDelete
  7. นั่นสิ ...ได้ยินมาอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ถ้านานๆ จะใช้ครั้งก้คงจะได้มั้ง เรียกว่าการกดเงินแบบฉุกเฉิน แต่พี่ว่าที่จริงแล้ว การใช้บัตรที่ไทยกดเงินต่างประเทศ ทำได้นะ แต่ต้องแจ้งกับธนาคารก่อนเดินทาง เช่น ทำบัตรให้บุตรในกรณีไปศึกษาที่ต่างประเทศนะ แต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่จะทำบัตรเครดิตร่วมกับผู้ปกครองกันมากกว่านะ

    ReplyDelete
  8. รบกวนเรียนสอบถามค่ะ พอดีคุณแม่สามีนำบัตรของbank of America มากดที่ไทยค่ะครั้งแรกทดลองดูกดออกมาหมื่นกว่าบาท คิดค่าธรรม200ค่ะไม่มีปัญหาอะไร ทีนี้พอลองมากดอีกครั้งให้หลังสองอาทิตย์ก็ขึ้นจำนวนเงินคงเหลือค่ะ. แต่กดเท่าไรเงินก็ไม่ออกมาให้ค่ะ พอรอบสุดท้ายลองกดอีก หน้าจอขึ้นข้อความว่า. เงินคงเหลือศูนย์บาท. แต่เงินที่กดได้xx,xxxบาท ไม่ทราบว่าเคยเจอกรณีแบบนี้ไหมคะ ควรทำอย่างไรดีคะเพราะคุณแม่เป็นซิตีเซน และกลับไทยถาวรและยังคงได้เงินโซเชี่ยลทุกเดือน. รบกวนสอบถามค่ะ

    ReplyDelete

My photo
ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษ ยังมีโมหะ โทสะ โลภ โกรธและหลง เหมือนกับคนอื่นๆ แต่ทุกลมหายใจ ณ.เวลานี้ มีแต่วันนี้และพรุ่งนี้ คิดดี ทำดี และเป็นกัลยาณมิตรที่ดี สร้างกุศลให้ลูกหลาน